แบบนี้เป็นหมิ่นประมาทมั้ย

หมิ่นประมาท คืออะไร?

 
         ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 บัญญัติว่า  ผู้ใด ใส่ความ ผู้ อื่นต่อ บุคคล ที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้อง ระวาง โทษ จำคุก ไม่เกิน หนึ่งปี หรือ ปรับ ไม่เกิน สอง หมื่นบาท หรือ ทั้ง จำ ทั้ง ปรับ

         ความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นกฎหมายมุ่งคุ้มครองเกียรติยศชื่อเสียงของเราไม่ให้ผู้ใดมาย่ำยี  ผู้กระทำความผิดต้องมีการสื่อสารข้อมูลไปยังบุคคลที่สาม และข้อมูลดังกล่าวเป็นการใส่ความผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น  หรือถูกเกลียดชัง  เช่นมีคนไปกล่าวกับบุคคลที่สามว่าเราเป็นโสเภณี หรือกะหรี  หรือไปโพสเฟสบุ้คว่าร้านนี้ขายสินค้าปลอมไม่มีมาตรฐาน ซึ่งเมื่อบุคคลที่สามได้ยินอาจทำให้เข้าใจผิดย่อมทำให้เราเสียชื่อเสียงได้ 

        ถึงแม้การใส่ความดังกล่าว จะไม่ทำให้บุคคลที่สามเชื่อเลย เพราะบุคคลที่สามรู้จักผู้เสียหายเป็นอย่างดีว่าไม่มีทางเป็นคนไม่ดีตามที่มีการกล่าว  ก็ยังถือว่าเป็นความผิด

        ส่วนถ้อยคำใดจะเป็นการหมิ่นประมาทหรือไม่  อันนี้จะต้องใช้สามัญสำนึกของวิญญููชน  ซึ่งศาลจะเป็นผู้ตีความ  มิใช่ถือเอาตามความเข้าใจของโจทก์หรือจำเลย

        ความผิดฐานหมิ่นประมาทเป็นความผิดต่อส่วนตัว  ผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิเช่นนั้นคดีจะขาดอายุความ

      แนวทางการต่อสู้คดีหมิ่นประมาท จะมีกฎหมายยกเว้นความผิด และยกเว้นโทษให้ดังต่อไปนี้

       ความผิดฐานหมิ่นประมาทมีกฎหมายยกเว้นความผิดอยู๋กล่าวคือ หากเป็นเรื่องดังนี้  ผู้กล่าวหมิ่นประมาทไม่มีความผิด มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต 
     1 เพื่อความ ชอบธรรม ป้องกัน ตน หรือ ป้องกัน ส่วน ได้เสีย เกี่ยวกับ ตน ตาม คลอง ธรรม
     2  ในฐานะ เป็นเจ้า พนักงาน ปฏิบัติ การตาม หน้าที่
     3  ติชม ด้วยความ เป็นธรรม ซึ่ง บุคคล หรือ สิ่งใด อันเป็น วิสัย ของประชาชน ย่อม กระทำ
     4  ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม

     มาตรา 331 คู่ ความ หรือ ทนาย ความของ คู่ ความ ซึ่ง แสดง ความคิดเห็น หรือ ข้อความใน กระบวน พิจารณา คดี ในศาล เพื่อประโยชน์แก่คดีของตนไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

     มาตรา  330  หากผู้กล่าวข้อความพิสูจน์ได้ว่าเรื่องที่กล่าวใส่ความเป็นความจริงผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ  แต่ห้ามพิสูจน์ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวและไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน  หมายความว่า  ถ้าเรื่องที่มีการใส่ความกัน เป็นความจริง และเป็นเรื่อง ที เป็น ประโยชน์ ต่อ สังคม ส่วนรวม โพลกล่าวใส่ความ มีความผิดตามกฎหมาย แต่กฎหมาย ยกเว้น ไม่ต้อง รับโทษ

ความผิดฐานหมิ่นประมาท จะต่างจากการดูหมิ่น

     ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 บัญญัติว่าผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวัง โทษ จำคุก ไม่เกิน หนึ่ง เดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่ง พัน บาท หรือ ทั้ง จำ ทั้ง ปรับ 

     ความผิดฐานดูหมิ่น คือการดูถูกเหยียดหยาม ทำให้อับอาย เสียหาย สบประมาท หรือด่า การดูหมิ่น อาจกระทำด้วยวาจาหรือกิริยาอย่างอื่นเช่นยกเท้าให้ เปลือยกาย หรือให้ของลับก็เป็นความผิด

      ความ ผิดฐาน ดูหมิ่น ต่าง กับการ หมิ่นประมาท คือ การดูหมิ่นเป็นเพียงคำด่า ผู้ฟังไม่มีทางเชื่อว่าเรื่องที่กล่าวเป็นความจริง เป็นเรื่องที่ผู้กระทำ ดูหมิ่นตัวผู้ถูกระทำเอง  แต่หมิ่นประมาทไม่จำเป็นต้องเป็นคำหยาบคาย แต่การ  กล่าวนั้นหากบุคคลที่สามรับรู้อาจทำให้ผู้ถูกกล่าวพาดพิงเสียหายได้  เป็นเรื่องผู้กระทำทำให้  ผู้อื่น  ดูหมิ่นเกลียดชัง ผู้ถูกหมิ่นประมาท

     ความผิดฐานดูหมิ่นจะต้องเป็นการกล่าวต่อหน้า  หรือโฆษณาจึงจะเป็นความผิด    ดังนั้นถ้าโทรศัพท์ไปด่าใครจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้นะครับ 555

เพิ่มเพื่อน

ทนายฝัน 080 250 5021

2 comments

Comments are closed.