เรื่องกู้ยืมนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 บัญญัติว่า “การกู้ยืมเงิน เกิน กว่า สอง พันบาท ขึ้นไป ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม เป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อ ผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับ คดี หาได้ไม่” ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมาย บังคับ ว่าถ้าไม่ ทำตาม จะนำคดีเรื่องนั้นมาฟ้องร้องกันไม่ได้ หากโจทก์นำคดีมาฟ้องอาจมีผลเสียหายถึงขั้น ถูกยกฟ้อง และแพ้คดีได้
หลักฐาน ดังกล่าวนั้น กฎหมาย มิได้ บังคับ ว่าจะ ต้อง ทำ เป็น หนังสือสัญญา เพียงแต่ต้องมีข้อความสำคัญ 2 ประการ คือ
1 ผู้กู้ได้รับ เงิน จาก ผู้ให้ กู้ และ
2 ผู้กู้ ตกลงจะคืนเงิน จำนวนนั้นแก่ผู้ให้กู้
การ ลง ลายมือชื่อ จะ เขียน เป็น เอกสาร แบบใด ก็ได้ กฎหมาย มิได้ บังคับ จะ เป็น ลักษณะ จดหมาย โต้ตอบ กัน ก็ใช้ได้ ปัจจุบัน ด้วย ความก้าว หน้าของ เทคโนโลยี ประชาชน มีการสื่อสารกันทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
จึงได้มีการ บัญญัติ กฎหมาย พรบ. ธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์เอาไว้ ให้ถือว่าการสื่อสารทางอิเล็คทรอนิกส์ดังกล่าว เป็นการลงลายมือชื่อตามกฎหมาย
ดังนั้น เราจึงสามารถใช้หลักฐานทางสื่ออิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป้นแชทไลน์ หรือเมสเซนเจอร์ ที่มีข้อความครบถ้วนทั้งสองประการดังกล่าวข้างต้นแม้ว่าจะเป็นเอกสารฉบับเดียวหรือหลายฉบับนำมาฟ้องจำเลยได้ แม้จะมิได้มีการทำสัญญาเป็นหนังสือก็ตาม