มียาเสพติดแค่ไหนถึงเรียกว่าครอบครองเพื่อเสพ

กฎหมายยาเสพติด

         ก่อนอื่นทนายขออธิบายก่อนว่าการแยกความแตกต่างของข้อหามียาไว้ครอบครอง กับครอบครองเพื่อเสพมีความสำคัญอย่างไร ประการแรกคือหากมิใช่เป็นการครอบครองเพื่อเสพเอง กฎหมายถือว่าเป็นกรณีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษไว้สูงกว่า โดยมาตรา 145 กำหนดอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปีและปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท หากเป็นกรณีมีเหตุฉกรรจ์ตามวรรคสอง กำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี และปรับตัังแต่สองแสนบาทถึงสองล้านบาท นอกจากนี้ เจ้าพนักงานป.ป.ส.ยังมีอำนาจยึดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อตรวจสอบและทำการริบทรัพย์ต่อไปได้

         ตาม ประมวลกฎหมายยาเสพติดมาตรา 107 บัญญัติว่า “ห้ามผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 เพื่อเสพ
         การ มีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 1 ประเภท2 หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2ในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งไม่เกิน ปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนดในกฎกระทรวงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ”

         มาตรา 164 ” ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ประเภท 2หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1หรือประเภท2เพื่อเสพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 107 ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท

         ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ โดยมีผลบังคับใช้บังคับในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีรายละเอียดังนี้

เพิ่มเพื่อน

ทนายฝัน 080 250 5021

3 comments

Comments are closed.